วิศวะ DPU สุดเจ๋ง คว้าแชมป์แข่งหุ่นยนต์
ซีอาร์ยู โรบอทเกมส์ ปี 63
ปิดฉากการประลองฝีมือกันไปแล้ว สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ ในโครงการประกวดแข่งขันหุ่นยนต์ ซีอาร์ยู โรบอทเกมส์ ระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 “Power for a better life” ประจำปี 2563 จัดโดยสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สนับสนุนโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ งประเทศไทย โดยผลรางวัลชนะเลิศพร้อมเงิ นรางวัลและโล่เกียรติยศในปีนี้ ตกเป็นของทีม ลูกเจ้าแม่คลองประปา “Lullaby” จากวิทยาลัยนวัตกรรมด้ านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ที่ฝ่าด่านสถาบันอุดมศึกษาคู่ แข่งจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ าพระนครเหนือ สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอื่นๆอีกจำนวนกว่า 30 ทีม
กว่าจะคว้าแชมป์มาได้ 4 หนุ่มจากทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา Lullaby ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปี 1-4 สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอั ตโนมัติ ของ CITE DPU ประกอบด้วย นายพีรพัฒน์ พลอยประเสริฐ (เจมส์) หัวหน้าทีม นายเอกราช เหล็งนุ้ย (มาน) นายนิติพนธ์ ผายรัศมี (ไนท์) และนายธนวัฒน์ พูพุ่ม (มิ้ง) ต่างเอ่ยเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องฝึกซ้อมกันอย่างหนักเลยที เดียว โดยมีรุ่นพี่ที่คณะและอ.ณพัฒน์ สุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่ นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่คอยให้คำปรึกษาตลอดช่ วงเวลาการเตรียมตัวและแข่งขัน
อ.ณพัฒน์ สุวรรณ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาเล่าให้ ฟังว่า ทุกๆปีจะมีการจัดการแข่งขันหุ่ นยนต์ในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นก่อนเซ็ททีมรุ่นพี่ ในชมรมหุ่นยนต์จะเรียกรุ่นน้ องมาประชุม เพื่อทำการคัดเลือกผู้ร่วมทีม โดยปีนี้เราได้ส่งนักศึกษาลงแข่ งขัน 2 ทีม ซึ่งแต่ละทีมมีประมาณ 7-8 คน และเมนหลักในทีม 3 คนต้องมีความรู้ด้ านโปรแกรมเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบโครงสร้าง และการจัดการ หลังเปิดรับสมัครและรับโจทย์ จากมหาวิทยาลัยที่จัดการแข่งขัน สิ่งแรกที่นักศึกษาจะต้องทำคื อจำลองสนามแข่งให้เหมือนจริ งมากที่สุด และออกแบบหุ่นยนต์ให้ตรงตามกติ กา จากนั้นทุกคนในทีมต้องใช้ไอเดี ยออกแบบการแข่งขันในรูปแบบ 3D แล้วนำมาวิเคราะห์ในที่ประชุม เพื่อลงความเห็นว่าไอเดียไหนใช้ ได้จริงมากที่สุด แล้วนำมาทดสอบความแม่ นยำในสนามและฝึกซ้อมไปเรื่ อยๆจนกว่าจะถึงวันลงสนามจริง โดยรวมฝึกซ้อมประมาณ 3 เดือน
“การออกแบบโครงสร้างเชิงวิ ศวกรรม และการทำงานเป็นทีม คือ จุดเด่นของทีม หลังได้รับรางวัลชนะเลิศเราได้ วิเคราะห์ข้อได้เปรียบของหุ่ นยนต์ DPU เมื่อเปรียบเทียบกับหุ่นของที มอื่น พบว่าหุ่นยนต์อัตโนมัติ ของเราทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งมาจากปัจจัย 2 ส่วน คือการใช้อุปกรณ์และบอร์ดอิเล็ กโทรนิคเกรดอุตสาหกรรมมาใช้งาน และการออกแบบหุ่นยนต์ให้ สามารถหยิบชิ้นงานที่ทำคะแนนสู งสุดและหยิบได้หลายรูปทรง”
นายพีรพัฒน์ พลอยประเสริฐ หรือ เจมส์ นักศึกษาชั้นปี 4 หัวหน้าทีม กล่าวว่า การอยู่ในฐานะพี่ใหญ่ที่ต้ องคอยดูแลน้องๆและต้องรับฟั งความคิดของทุกคนอยู่เสมอ ทำให้เห็นความสามารถที่โดดเด่ นของน้องแต่ละคน จึงทำให้แบ่งการทำงานตามความถนั ดให้ทุกคนได้อย่างลงตัว และเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้ที มประสบความสำเร็จ มาจากหลายปัจจัย อาทิ การนำประสบการณ์จากการลงแข่งขั นในสนามต่างๆ มาปรับใช้ในการแข่งขัน การฝึกฝนอยู่เสมอ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้หลอมรวมให้ทุ กคนในทีมเป็นหนึ่งเดียวกั นและคว้าชัยครั้งนี้มาได้ จึงอยากฝากน้องๆ ที่เรียนคณะวิศวกรรม ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ที่ DPU นอกจากเรียนในตำราแล้ว ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่ช่วยฝึกฝนทักษะด้านอื่นๆ รวมไปถึงทักษะความเป็นผู้ ประกอบการ ที่ถูกฝังไว้ใน DNA ของเด็ก DPU ทุกคน ซึ่งเมื่ อจบออกไปนอกจากในฐานะของพนั กงานแล้วจะช่วยให้เราคิดในมุ มของผู้ประกอบการด้วย
ด้านนายธนวัฒน์ พูพุ่ม หรือ มิ้ง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 บอกว่า ส่วนตัวสนใจเรื่องการสร้างหุ่ นยนต์มาตั้งแต่สมัยเรียน ปวช. เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลั ยจึงเลือกเรียนที่ DPU เพราะมหาวิทยาลัยนี้นอกจากจะมี ชื่อเสียงด้านการประกอบธุรกิจ ยังมีชื่อเสียงด้านการแข่งขันหุ่ นยนต์ เมื่อถึงฤดูกาลแข่งขันจึงได้สมั ครเข้าชมรม เพื่อลงแข่ง ซึ่งตนได้รับมอบหมายให้ ออกแบบในส่วนของแมคคานิคหรื อโครงสร้างของตัวหุ่น ถือเป็นส่วนสำคัญในการใช้งาน สำหรับสิ่งที่ทำให้นำมาสู่ชั ยชนะในครั้งนี้ มาจากการสร้างหุ่นยนต์ได้ ตรงตามโจทย์และใช้เวลาแข่งน้ อยกว่าทีมอื่น สิ่งที่ได้จากการแข่งขันครั้งนี้ คือ การมีพัฒนาการด้ านการออกแบบการแข่งขัน การออกแบบหุ่นยนต์ รู้จักการวางเป้าหมาย และการคิดวิเคราะห์ ผมจะนำความรู้ทั้งหมดนี้ไปต่ อยอดในการทำงานในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจทางด้านนี้ ขอให้มุ่งมั่นและหมั่นฝึกซ้ อมอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาสลงแข่งขันจะได้เปรี ยบคู่แข่ง
นายเอกราช เหล็งนุ้ย หรือ มาน และนายนิติพนธ์ ผายรัศมี หรือ ไนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ช่วยกันเล่าว่า ความสามัคคีถือเป็นจุดเด่นของที ม เพราะทุกคนในชมรม ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ที่ปรึ กษาหรือรุ่นพี่ ต่างมาช่วยให้คำปรึ กษาตลอดระยะเวลาก่อนการแข่งขัน โดยเฉพาะเรื่องการออกแบบแขนหุ่ นยนต์เพื่อให้หยิบจับอุปกรณ์ได้ อย่างแม่นยำ ทำให้ชนะการแข่งขันมาได้ แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีอุ ปสรรคจากการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้งานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผน แต่ด้วยความทุ่มเทของทุกฝ่ ายทำให้หุ่นยนต์ที่ออกแบบมี ความสมบูรณ์ และมีแม่นยำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามรู้สึกภูมิใจมากที่ พึ่งเรียนชั้นปีหนึ่งแต่ สามารถคว้าแชมป์ได้ สำหรับประสบการณ์ในครั้งนี้ถื อเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปต่ อยอดการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี ในด้านอื่นๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือสังคมต่อไป