เว็บไซต์ E-commerce คือร้านค้าร้านหนึ่งในสังคมโลกออนไลน์ที่มีทรัพยากรที่สำคัญอย่างเนื้อหา ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน รวมไปถึงข้อมูลทางการเงิน จึงเป็นเป้าหมายให้ผู้ไม่หวังดีต้องการบุกรุกพื้นที่เพื่อนำทรัพยาเหล่านี้ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อความสูญเสียทั้งในแง่ทรัพย์สิน ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว แต่เนื่องจากวงการ e-commerce เพิ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายได้ไม่นาน เจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงยังไม่มีความรู้ในการบริหารจัดการความปลอดภัยระบบไอที (Cyber Security) ที่ดีพอ บทความนี้จึงได้รวบรวมเชคลิสต์ที่จะช่วยคุณปกป้องเว็บไซต์ e-commerce จากอาชญกรรมไซเบอร์
1.เลือกผู้ให้บริการ E-commerce Platform ที่น่าเชื่อถือ
การเลือกใช้ผู้ให้บริการ E-commerce Platform อย่างชาญฉลาดไม่เพียงจะได้รับ e-commerce solutions ที่ดี ที่สามารถช่วยธุรกิจของคุณวางรากฐานการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังรวมไปถึงมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการดูแลระบบความปลอดภัยไซเบอร์พร้อมตอบสนองหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นบนเว็บไซต์ตลอด 24/7
2.SSL Certification
SSL หรือ Secure Sockets Layer คือระบบการเข้ารหัสที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยช่วยปกป้องข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปมาบนอินเตอร์เนตจากการบุกรุกของคนภายนอก เช่น การส่งข้อมูลการจ่ายเงินของผู้ซื้อระหว่างเว็บไซต์ e-commerce และผู้ให้บริการธุรกรรมการเงิน เว็บไซต์ที่มีการรับรอง SSL Certification URL จะแสดงเป็น https เพื่อบ่งบอกว่าเว็บไซต์นี้มีระบบปกป้องข้อมูลมีความปลอดภัยสูงเชื่อถือไดั
3.สนับสนุนการใช้พาสเวิร์ดที่มีความปลอดภัยสูง
การสนับสนุนผู้ใช้งานตั้งรหัสผ่านในระบบเว็บไซต์ให้มีความซับซ้อนจะช่วยให้ผู้ไม่หวังดีไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากการสุ่มรหัสผ่านได้ง่าย การตั้งรหัสที่ดีไม่ควรสั้นจนเกินไป ควรมีตัวเลข ตัวอักษร และเพิ่มอักขระพิเศษ การใส่วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ ตัวเลขเรียงกัน หรือข้อมูลที่สามารถคาดเดาได้ง่ายอาจเป็นช่องโหว่ของอาชญากรรมไซเบอร์
4.ใช้การป้องกันหลายชั้น
เว็บไซต์ควรมีการสร้างระบบเข้าถึงข้อมูลด้วยการเปิดใช้บริการ two-factor authentication หรือการยืนยันตัวตน 2 ชั้น เป็นการที่ผู้ใช้งานต้องระบุตัวตนด้วยข้อมูล 2 จาก 3 ประเภทที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูลดังต่อไปนี้
– ข้อมูลทางชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ การสแกนใบหน้า
– การตั้งรหัสผ่าน
– การยืนยันตัวตนจากสิ่งที่มี เช่น โทรศัพท์ แอพพลิเคชั่น
5.มีการอัพเดทระบบ และแบคอัพข้อมูลต่อเนื่อง
ความสามารถของแฮกเกอร์และเทคโนโลยีการโจรกรรมในโลกไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เว็บไซต์ที่ใช้ซอฟแวร์ล้าสมัยจึงกลายเป็นเหยื่อทางเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดาย การอัพเดทระบบให้มีความทันสมัยจึงเป็นเสมือนเกราะป้องกันด่านหน้าที่ช่วยปกป้องเว็บไซต์ การตรวจสอบความผิดปกติเป็นประจำจะทำให้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และแบคอัพข้อมูลในระบบสม่ำเสมอเพื่อง่ายต่อการกู้คืนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน